ความรู้เพิ่มเติมจาก"โครงการเสริมสร้างจิตสำนึกและค่านิยมให้ผู้บริหารสถานศึกษาบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล"
เมื่อวันที่ 2-3 มิ.ย.59 มีโอกาสฟังท่านรองฯกิตติศักดิ์ กับท่าน ผอ.สัจจา บรรยายใน "โครงการเสริมสร้างจิตสำนึกและค่านิยมให้ผู้บริหารสถานศึกษาบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล" แก่ผู้อำนวยการ กศน.อำเภอ/เขต ณ โรงแรมหรรษาเจบี หาดใหญ่ สงขลา
( ได้ฟังเพียงบางส่วน ไม่ได้ฟังตลอด )
มีประเด็นที่น่าสนใจ มาเล่าต่อ คือ
1) หนังสือเรียนวิชาเลือกบังคับ จะใช้วิธีซื้อไม่ได้ ต้องใช้วิธีจ้าง เพราะลิขสิทธิเนื้อหาเป็นของ กศน. กำลังจะให้องค์การค้า สกสค. เป็นผู้พิมพ์จำหน่ายในภาคเรียนหน้า ( รวมทั้งหนังสือเรียนวิชาเลือกที่สถานศึกษาพัฒนาเนื้อหาขึ้น ก็ต้องใช้วิธีจ้าง )
ส่วนหนังสือเรียนวิชาบังคับ จะใช้วิธีซื้อหรือจ้างก็ได้ โดยถ้าเอกชนเป็นผู้พัฒนาเนื้อหาก็ใช้วิธีซื้อ ถ้าพิมพ์ตามต้นฉบับของ กศน.ก็ใช้วิธีจ้าง
ปัญหาคือ ถ้าสถานศึกษาจะแบ่งงบประมาณค่าหนังสือเรียนที่ได้รับ ออกเป็นสองส่วน เช่น จ้างพิมพ์วิชาเลือก และซื้อวิชาบังคับ จะถือเป็นการแบ่งซื้อแบ่งจ้างซึ่งจะทำไม่ได้ หรือไม่
ประเด็นนี้ ถ้า การแบ่งงบประมาณแล้วทำให้เปลี่ยนอำนาจผู้ซื้อจากจังหวัดเป็นอำเภอ และ/หรือ เปลี่ยนวิธีซื้อ/จ้าง จากวิธีสอบราคา/ประกวดราคา เป็นวิธีตกลงราคา ก็จะเป็นการแบ่งซื้อแบ่งจ้างที่ห้ามทำ
แต่ถ้าวงเงินทั้งหมดที่สถานศึกษาได้รับไม่เกินห้าแสนบาท สถานศึกษาซื้อเองโดยวิธีตกลงราคาอยู่แล้ว แม้จะแบ่งเป็นสองส่วน ซื้อบางส่วนจ้างบางส่วน ก็ยังซื้อ/จ้างโดยสถานศึกษาด้วยวิธีตกลงราคาเช่นกัน สามารถทำได้ ไม่ถือเป็นการแบ่งซื้อแบ่งจ้าง
2) หนังสือเรียนวิชาเลือกบังคับ จะเป็น "ชุดวิชา" คือ 1 วิชามีมากกว่า 1 เล่ม/รายการ ( หนังสือเรียน กับ สมุดบันทึกกิจกรรมการเรียนรู้ )
วิชาบังคับ ภาคเรียนต่อไปก็จะเปลี่ยนเป็นชุดวิชา
สามารถใช้งบที่จัดสรรเป็นค่าหนังสือเรียน จ้างได้ทั้ง 2 อย่าง โดยภาคเรียนแรกอาจจ้างเท่ากันทั้ง 2 อย่าง ส่วนภาคเรียนต่อ ๆ ไป อาจจ้างพิมพ์สมุดบันทึกกิจกรรมการเรียนรู้มากกว่า หรือจ้างพิมพ์เฉพาะสมุดบันทึกกิจกรรมการเรียนรู้
3) จุดสำคัญในการพิจารณาใบเสนอราคา มี 3 อย่าง
- จำนวนเงิน ( ตรวจสเป็คก่อน ถ้าสเป็คถูกต้อง และไม่ผิดเงื่อนไข ต้องซื้อ/จ้างจากรายที่เสนอราคาต่ำสุด )
- ต้องมีลายมือชื่อผู้เสนอราคา
- ต้องมีกำหนดวันส่งมอบ
4) สัญญาซื้อ/จ้าง สามารถแก้ไขได้ถ้ามีเหตุผลความจำเป็น โดยแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้จนถึงก่อนวันตรวจรับ
หลักประกันสัญญา เก็บในที่ปลอดภัย แต่ไม่ต้องเก็บในตู้เซฟ
5) การซื้อ/จ้าง หนังสือเรียน ถ้าส่งของไม่ครบถ้วน ให้คำนวณค่าปรับและจำนวนวันที่ปรับ เฉพาะส่วนที่ยังส่งไม่ครบเท่านั้น
6) ถ้าเราส่งมอบต้นฉบับ/ส่งมอบพื้นที่ช้า กี่วัน ให้ขยายเวลาเท่านั้น
7) ใช้เงินอุดหนุน จ้างเหมาบริการในตำแหน่งที่ไม่เกี่ยวกับการทำงาน กศ.ขั้นพื้นฐานโดยตรง ไม่ได้ เช่น จ้างในตำแหน่ง จนท.การเงิน บัญชี แม่บ้าน ทำความสะอาด ไม่ได้
8) การเปิดสอบบรรจุครูผู้ช่วยครั้งต่อไป ( อีกนาน ยังไม่มีกำหนด ) เราถูกกำหนดให้แบ่งเป็น 2 กลุ่ม เช่นเดียวกับ สพฐ. คือ กลุ่มที่รับเฉพาะคนในสังกัด กับกลุ่มที่รับบุคคลทั่วไป และ ต้องกำหนดวิชาเอก
เราจะแบ่งเป็นกลุ่มที่รับบุคคลทั่วไปน้อยกว่า อาจจะแบ่งรับคนทั่วไป 30 % และรับคนในสังกัด 70 % ( สอบกลุ่มคนในให้เสร็จเรียบร้อยก่อน แล้วจึงเปิดรับสมัครกลุ่มคนทั่วไป โดยคนในสังกัดก็สามารถสมัครในกลุ่มคนทั่วไปได้อีก )
ในส่วนของการกำหนดวิขาเอก ก็จะสำรวจจากวุฒิของพนักงานราชการที่เป็นคนในสังกัดว่าจบเอกอะไรกันมา แล้วกำหนดรับวิชาเอกตามนั้น
9) สิ่งที่เราทำผิด ตามที่หน่วยงานภายนอกที่มาตรวจสอบ ชี้มูล เรื่องหนึ่งคือ เราไม่ทำ "แผนการจัดซื้อจัดจ้าง/แผนการจัดซื้อจัดหาพัสดุ" ( ประเด็นนี้ หน่วยงาน/สถานศึกษา ต้องแก้ไข )
การซื้อการจ้างราคาเกิน 100,000 บาท ต้องตั้งคณะกรรมการกำหนดราคากลาง
ถ้าของบฯเพิ่มเติมได้ ก็ซื้อเกินราคากลางได้ แต่ไม่เกิน 10 %
Kittisak Rattanachaya นายประเสริฐ หอมดี สำนักงาน กศน. จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เอกชัย ยุติศรี
( ได้ฟังเพียงบางส่วน ไม่ได้ฟังตลอด )
มีประเด็นที่น่าสนใจ มาเล่าต่อ คือ
1) หนังสือเรียนวิชาเลือกบังคับ จะใช้วิธีซื้อไม่ได้ ต้องใช้วิธีจ้าง เพราะลิขสิทธิเนื้อหาเป็นของ กศน. กำลังจะให้องค์การค้า สกสค. เป็นผู้พิมพ์จำหน่ายในภาคเรียนหน้า ( รวมทั้งหนังสือเรียนวิชาเลือกที่สถานศึกษาพัฒนาเนื้อหาขึ้น ก็ต้องใช้วิธีจ้าง )
ส่วนหนังสือเรียนวิชาบังคับ จะใช้วิธีซื้อหรือจ้างก็ได้ โดยถ้าเอกชนเป็นผู้พัฒนาเนื้อหาก็ใช้วิธีซื้อ ถ้าพิมพ์ตามต้นฉบับของ กศน.ก็ใช้วิธีจ้าง
ปัญหาคือ ถ้าสถานศึกษาจะแบ่งงบประมาณค่าหนังสือเรียนที่ได้รับ ออกเป็นสองส่วน เช่น จ้างพิมพ์วิชาเลือก และซื้อวิชาบังคับ จะถือเป็นการแบ่งซื้อแบ่งจ้างซึ่งจะทำไม่ได้ หรือไม่
ประเด็นนี้ ถ้า การแบ่งงบประมาณแล้วทำให้เปลี่ยนอำนาจผู้ซื้อจากจังหวัดเป็นอำเภอ และ/หรือ เปลี่ยนวิธีซื้อ/จ้าง จากวิธีสอบราคา/ประกวดราคา เป็นวิธีตกลงราคา ก็จะเป็นการแบ่งซื้อแบ่งจ้างที่ห้ามทำ
แต่ถ้าวงเงินทั้งหมดที่สถานศึกษาได้รับไม่เกินห้าแสนบาท สถานศึกษาซื้อเองโดยวิธีตกลงราคาอยู่แล้ว แม้จะแบ่งเป็นสองส่วน ซื้อบางส่วนจ้างบางส่วน ก็ยังซื้อ/จ้างโดยสถานศึกษาด้วยวิธีตกลงราคาเช่นกัน สามารถทำได้ ไม่ถือเป็นการแบ่งซื้อแบ่งจ้าง
2) หนังสือเรียนวิชาเลือกบังคับ จะเป็น "ชุดวิชา" คือ 1 วิชามีมากกว่า 1 เล่ม/รายการ ( หนังสือเรียน กับ สมุดบันทึกกิจกรรมการเรียนรู้ )
วิชาบังคับ ภาคเรียนต่อไปก็จะเปลี่ยนเป็นชุดวิชา
สามารถใช้งบที่จัดสรรเป็นค่าหนังสือเรียน จ้างได้ทั้ง 2 อย่าง โดยภาคเรียนแรกอาจจ้างเท่ากันทั้ง 2 อย่าง ส่วนภาคเรียนต่อ ๆ ไป อาจจ้างพิมพ์สมุดบันทึกกิจกรรมการเรียนรู้มากกว่า หรือจ้างพิมพ์เฉพาะสมุดบันทึกกิจกรรมการเรียนรู้
3) จุดสำคัญในการพิจารณาใบเสนอราคา มี 3 อย่าง
- จำนวนเงิน ( ตรวจสเป็คก่อน ถ้าสเป็คถูกต้อง และไม่ผิดเงื่อนไข ต้องซื้อ/จ้างจากรายที่เสนอราคาต่ำสุด )
- ต้องมีลายมือชื่อผู้เสนอราคา
- ต้องมีกำหนดวันส่งมอบ
4) สัญญาซื้อ/จ้าง สามารถแก้ไขได้ถ้ามีเหตุผลความจำเป็น โดยแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้จนถึงก่อนวันตรวจรับ
หลักประกันสัญญา เก็บในที่ปลอดภัย แต่ไม่ต้องเก็บในตู้เซฟ
5) การซื้อ/จ้าง หนังสือเรียน ถ้าส่งของไม่ครบถ้วน ให้คำนวณค่าปรับและจำนวนวันที่ปรับ เฉพาะส่วนที่ยังส่งไม่ครบเท่านั้น
6) ถ้าเราส่งมอบต้นฉบับ/ส่งมอบพื้นที่ช้า กี่วัน ให้ขยายเวลาเท่านั้น
7) ใช้เงินอุดหนุน จ้างเหมาบริการในตำแหน่งที่ไม่เกี่ยวกับการทำงาน กศ.ขั้นพื้นฐานโดยตรง ไม่ได้ เช่น จ้างในตำแหน่ง จนท.การเงิน บัญชี แม่บ้าน ทำความสะอาด ไม่ได้
8) การเปิดสอบบรรจุครูผู้ช่วยครั้งต่อไป ( อีกนาน ยังไม่มีกำหนด ) เราถูกกำหนดให้แบ่งเป็น 2 กลุ่ม เช่นเดียวกับ สพฐ. คือ กลุ่มที่รับเฉพาะคนในสังกัด กับกลุ่มที่รับบุคคลทั่วไป และ ต้องกำหนดวิชาเอก
เราจะแบ่งเป็นกลุ่มที่รับบุคคลทั่วไปน้อยกว่า อาจจะแบ่งรับคนทั่วไป 30 % และรับคนในสังกัด 70 % ( สอบกลุ่มคนในให้เสร็จเรียบร้อยก่อน แล้วจึงเปิดรับสมัครกลุ่มคนทั่วไป โดยคนในสังกัดก็สามารถสมัครในกลุ่มคนทั่วไปได้อีก )
ในส่วนของการกำหนดวิขาเอก ก็จะสำรวจจากวุฒิของพนักงานราชการที่เป็นคนในสังกัดว่าจบเอกอะไรกันมา แล้วกำหนดรับวิชาเอกตามนั้น
9) สิ่งที่เราทำผิด ตามที่หน่วยงานภายนอกที่มาตรวจสอบ ชี้มูล เรื่องหนึ่งคือ เราไม่ทำ "แผนการจัดซื้อจัดจ้าง/แผนการจัดซื้อจัดหาพัสดุ" ( ประเด็นนี้ หน่วยงาน/สถานศึกษา ต้องแก้ไข )
การซื้อการจ้างราคาเกิน 100,000 บาท ต้องตั้งคณะกรรมการกำหนดราคากลาง
ถ้าของบฯเพิ่มเติมได้ ก็ซื้อเกินราคากลางได้ แต่ไม่เกิน 10 %
Kittisak Rattanachaya นายประเสริฐ หอมดี สำนักงาน กศน. จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เอกชัย ยุติศรี