1.กศน.ตำบลออกเกียรติบัตรอย่างไร, 2.ตำแหน่งพนักงานราชการระดับอำเภอแทนครูอาสาฯลาออก, 3.ทำไมต้องใช้เงินค้ำประกันสัญญา, 4.น้อยใจ กพฐ.ใช้ ว12 ทำงานครบ 3 ปี บรรจุ?, 5.ร.ร.ส่งเด็กมาเรียนกลางภาค, 6.ค้นหาหลักสูตรวิชาเลือก, 7.กศน.อ.ตั้งกองลูกเสือประเภทใดได้
.
1. วันที่ 9 พ.ค.57 ( วันพืชมงคล ) นางวิไลพร หวังดีกลาง กศน.อ.บ้านเขว้า ถามผมผ่านเฟซบุ๊ค ว่า การออกเกียรติบัตร ที่ กศน.ตำบลจัดขึ้น ( โครงการพัฒนาครู กศน.ตำบล และครู ศรช. ขออนุมัติโครงการจาก ผอ.กศน.อำเภอ ไม่ได้ใช้งบประมาณ ) โดยมี ผอ.กศน.อำเภอเซ็นกับหัวหน้า กศน.ตำบลได้มั้ย รวมถึงต้องใส่เลขที่ออกเกียรติบัตรด้วยมั้ย
ผมตอบว่า ที่จริงจะลงนามแบบที่ถามก็ได้ แต่โดยปกติเกียรติบัตรจะลงนามโดยผู้บริหารคือ ผอ.กศน.อำเภอ กับนายทะเบียนเกียรติบัตร ( ผูดูแลทะเบียน ออกเลขเกียรติบัตร )
ถ้าเป็นโครงการร่วมหลายองค์กร อาจลงนามโดยผู้บริหารหลายองค์กร ส่วนนายทะเบียนเกียติบัตร ปกติทะเบียนและนายทะเบียนจะอยู่ที่ กศน.อำเภอ เพราะปัจจุบัน กศน.ตำบลยังไม่เป็นหน่วยงาน/สถานศึกษาเอกเทศ
สำหรับการออกเลขที่เกียรติบัตรนั้น เอกสารหลักฐานของทางราชการที่ถูกแล้ว ให้มีเลขที่ไว้ เพื่อเป็นทะเบียนให้สามารถตรวจสอบในภายหลังได้
.
2. วันอาทิตย์ที่ 11 พ.ค.57 คุณ Nicky Kongkiat ครู กศน.ตำบล ที่ กศน.อำเภอหว้านใหญ่ ถามผมผ่านเฟซบุ๊ค ว่า ตำแหน่งครูอาสาสมัครฯ ที่มีการลาออก จะถูกตัดเป็นตำแหน่งนักวิชาการ ทำงานที่จังหวัดใช่ไหม แล้วใช้เวลานานเท่าไหร่ที่กรมจะระบุตำแหน่งนักวิชาการคืนให้ กศน.จังหวัด ที่ยื่นเรื่องขอ
ผมตอบว่า ไม่ได้ถูกเปลี่ยนตำแหน่งโดยอัตโนมัติ ขึ้นอยู่กับจังหวัดจะพิจารณา ( โดยปรึกษาหารือกับอำเภอ ) ว่า จะคงตำแหน่งเดิมไว้ที่เดิม หรือจะเปลี่ยนเป็นตำแหน่งอะไร ไว้ที่ไหน ( ไม่จำเป็นต้องเป็นตำแหน่งนักวิชาการศึกษา แต่ถ้าอยู่ระดับอำเภอ ตำแหน่งอื่นที่จะเปลี่ยนไปได้คือตำแหน่งครู กศน.ตำบล ตำแหน่งนักวิชาการศึกษา ตำแหน่งนักจัดการงานทั่วไป และตำแหน่งบรรณารักษ์ ) ถ้าจะคงตำแหน่งเดิมคือตำแหน่งครูอาสาฯไว้ที่เดิม จังหวัดก็บรรจุคนใหม่แทนได้เลย ไม่ต้องแจ้งส่วนกลาง ( ถ้าไม่มีผู้สอบขึ้นบัญชีค้างอยู่ จังหวัดก็ดำเนินการรับสมัครใหม่ได้เลย แต่ถ้าเป็นตำแหน่งครู กศน.ตำบลลาออก และตำบลนั้นมีครู กศน.ตำบลเกิน 1 คน ต้องแจ้งส่วนกลางเพื่อย้ายอัตราว่างไปที่อื่น ) ถ้าจะเปลี่ยนเป็นตำแหน่งอื่น และหรือ นำไปไว้ที่อื่น จังหวัดต้องขออนุมัติส่วนกลางก่อน จะใช้เวลาเท่าไรนั้นไม่แน่นอน แล้วแต่ว่าจะส่งเรื่องโดยวิธีที่เร็วแค่ไหน ติดตามเรื่องแค่ไหน น่าจะประมาณ 1 เดือนมั้ง
.
3. เช้าวันที่ 28 พ.ค.57 ผมตอบคำถามคุณ Beeza Rukbumrung ครู ปวช. กศน.อ.เมืองสุราษฎร์ธานี ที่ถามผมผ่านเฟซบุ๊ค ว่า ในการต่อสัญญาจ้าง (ครูพิการ ครูปวช ครูเร่ร่อน) รอบใหม่นี้มีการเก็บเงินค้ำประกันสัญญา 5 เปอร์เซ็นด้วยหรอ ปกติที่เคยต่อสัญญาไม่เคยเก็บ พอเงินเดือน 15,000 บาทเก็บเงินค้ำ 3,750 บาท
ผมตอบว่า ที่ผ่านมาอาจทำไม่ถูกต้อง ที่ถูกต้องคือการจ้างตามระเบียบพัสดุที่มีการทำสัญญาจ้าง ต้องมีหลักประกันการปฏิบัติตามสัญญา 5 % ( ตามระเบียบพัสดุ กำหนดให้ใช้หลักทรัพย์เป็น "หลักประกันการปฏิบัติตามสัญญา" ไม่มีระเบียบให้ใช้บุคคลเป็นหลักประกัน )
ผมเคยถาม กจ.กศน.ว่า การจ้างครูผู้สอนคนพิการ ครู ปวช. ครูสอนเด็กเร่ร่อน ครูสอนภาษาต่างประเทศ เป็นการจ้างเหมาบริการบุคคลภายนอกตามระเบียบพัสดุด้วยหรือไม่ นิติกร กจ.ตอบว่าใช่
ถ้าจ้างพนักงานราชการจึงจะเป็นการจ้างบุคลากรของส่วนราชการ ไม่ใช่จ้างเหมาบริการบุคคลภายนอกตามระเบียบพัสดุ
( สัญญาจ้างพนักงานราชการไม่ต้องติดอากรแสตมป์ ไม่ต้องมีการค้ำประกัน, สัญญาจ้างตามระเบียบพัสดุต้องติดอากรแสตมป์และต้องใช้หลักทรัพย์เป็นหลักประกันตามสัญญา
.
4. คืนวันที่ 29 พ.ค.57 ผมตอบที่คุณ คนเลี้ยงหมู สุกรไทย เขียนในเฟซบุ๊คกลุ่มนอกระบบว่า “ครู กศน.ทำงานหนักกว่าในระบบ แต่ในระบบเขาใช้ ว 12 ทำงานครบสามปี บรรจุ แย่งคนเก่งเราจะหมดแล้ว ให้ผู้ใหญ่ช่วยดูบ้าง”
ผมตอบว่า ที่ว่า "ใช้ ว 12 ทำงานครบสามปี บรรจุ" นั้น ไม่จริง ว 12 เช่น สอบบรรจุโดยรับสมัครเฉพาะคนที่ทำงานในสังกัดครบ 3 ปี คนนอกสังกัด กพฐ. ไม่มีสิทธิ์ไปสมัคร ( ทำงานในสังกัด กพฐ.ครบ 3 ปี มีสิทธิสมัครสอบ ว 12 ไม่ใช่ครบ 3 ปีบรรจุเลย )
กศน.เราก็ใช้แต่ ว.12 มาหลายปีแล้ว ครูผู้ช่วย กศน.ไม่รับคนนอกมานานแล้ว ในขณะที่ กพฐ.มีทั้งรับทั่วไปและรับตาม ว12
คุณ ณัฐ อุด ถามต่อว่า “ว 12 คือไร ไม่เข้าใจจริงๆ”
ผมตอบว่า ว12 หมายถึง หนังสือเวียนฉบับที่ 12 ( หนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ. ที่ ศธ 0206.6/ว12 ลงวันที่ 18 ก.ค.56 ) เรื่อง “หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเข้ารับราชการเป็น ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตำแหน่งครูผู้ช่วยกรณีที่มีความจำเป็น หรือมีเหตุพิเศษ”
การสอบบรรจุตาม ว12 จะขึ้นบัญชีได้ไม่เกิน 1 ปี
ใน ว12 จะบอกหลักเกณฑ์และวิธีการสอบ รวมทั้งหลักสูตรการสอบภาค ก. ข. ค. ไว้ด้วย
ดู ว12 ได้ที่ https://dl.dropboxusercontent.com/.../PDF/v12-2556.pdf
( กรณีที่มีความจำเป็นหรือมีเหตุพิเศษ จะมีอยู่ 7 กรณี ตามข้อ 2.1-2.7 ที่ กศน.ใช้คือ 2.6 )
.
5. วันเสาร์ที่ 31 พ.ค.57 ผมตอบคำถามคุณ ยุทธนา ถาวร ครู กศน.ตำบล กศน.อ.บ้านม่วง ที่ถามในหน้าเฟซบุ๊คผม ว่า การย้ายสถานศึกษา ในกรณีที่ในระบบเขาส่งเด็กมาในช่วงกลางภาคเรียน หรือช่วงลงทะเบียนเรียนเสร็จแล้ว เราสามารถรับเด็กคนนั้นมาลงทะเบียนในภาคเรียนนั้นได้เลยไหม หรือต้องรอเปิดภาคเรียนใหม่ก่อน
ผมตอบว่า กรณีที่โรงเรียนในระบบส่งเด็กมาเรียน กศน.ในช่วงกลางภาคเรียนหรือช่วงหลังหมดเวลาลงทะเบียนเรียน เรารับขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษา ( ได้รหัสประจำตัวนักศึกษา ) ได้เลย ( รวมทั้งสถานศึกษาอาจกำหนดให้เทียบโอนกลางภาคเรียนได้ ) แต่ ให้ลงทะเบียนเรียนวิชาต่าง ๆ เมื่อเปิดภาคเรียนใหม่
.
6. วันเดียวกัน ( วันเสาร์ที่ 31 พ.ค.57 ) ผมตอบคำถามคุณ Yothin Sommanonont ที่ถามผ่านแฟนเพจเฟซบุ๊คผม ว่า มีหลักสูตร ลูกเลือ กศน. 1 สค.03029 ไหม
ผมตอบว่า คำว่า "หลักสูตรรายวิชา" จะหมายถึง "คำอธิบายรายวิชา กับ รายละเอียดคำอธิบายรายวิชา" นะ ( ส่วนพวกหนังสือแบบเรียน เป็นส่วนเสริม ) ดูวิธีค้นหาหลักสูตร ( ค้นหาคำอธิบายรายวิชา กับ รายละเอียดคำอธิบายรายวิชา ) ทุกวิชา ได้ในข้อ 6 ที่http://nfeph.blogspot.com/2013/11/asean.html
.
7. วันเดียวกัน ( วันเสาร์ที่ 31 พ.ค.57 ) ผมตอบคำถามคุณ Thaniwapon Komanee ที่ถามในหน้าเฟซบุ๊คผม ว่า การจัดตั้งกองลูกเสือของ กศน.จัดตั้งได้เฉพาะลูกเสือวิสามัญรึเปล่า (นร.ม.ปลาย) แล้ว ม.ต้นจะจัดตั้งกองลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่เหมือนโรงเรียนในระบบได้หรือไม่ (สำหรับนักศึกษา ม.ต้น ) แล้วจะต้องลงเป็นวิชาเลือกหรือเป็นกิจกรรม
ผมตอบว่า
1) กองลูกเสือ กศน. เป็นกองลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ และ/หรือ ลูกเสือวิสามัญ
การขอจัดตั้งกองลูกเสือ ต้องตั้งอย่างน้อย 1 กอง
- กองลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ 1 กอง มีจำนวนลูกเสือ 8 – 48 คน มีอายุ 14 – 18 ปี หรือ กำลังเรียนอยู่ในชั้นมัธยมศึกษา
- กองลูกเสือวิสามัญ 1 กอง มีจำนวนลูกเสืออย่างน้อย 10 คน ไม่เกิน 40 คน อายุระหว่าง 16 – 25 ปี หรือกำลังเรียนอยู่ในชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
2) การจะขอจัดตั้งกองลูกเสือได้ ต้องมีผู้กำกับลูกเสือประเภทนั้นอย่างน้อย 1 คน เป็นคนจากหน่วยงาน/สถานศึกษาอื่นก็ได้
3) ผู้กำกับกองลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ มีอายุไม่น้อยกว่า 23 ปี และต้องได้รับเครื่องหมายวูดแบดจ์ประเภทลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ (S.S.W.B.), ส่วนผู้กำกับกองลูกเสือวิสามัญมีอายุไม่น้อยกว่า 25 ปี และต้องได้รับเครื่องหมายวูดแบดจ์ประเภทลูกเสือวิสามัญ (R.W.B.)
4) ลงเป็นวิชาเลือกหรือเป็นกิจกรรมก็ได้
( ดูข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ในข้อ 4 ที่ http://www.gotoknow.org/posts/519440 )
.
1. วันที่ 9 พ.ค.57 ( วันพืชมงคล ) นางวิไลพร หวังดีกลาง กศน.อ.บ้านเขว้า ถามผมผ่านเฟซบุ๊ค ว่า การออกเกียรติบัตร ที่ กศน.ตำบลจัดขึ้น ( โครงการพัฒนาครู กศน.ตำบล และครู ศรช. ขออนุมัติโครงการจาก ผอ.กศน.อำเภอ ไม่ได้ใช้งบประมาณ ) โดยมี ผอ.กศน.อำเภอเซ็นกับหัวหน้า กศน.ตำบลได้มั้ย รวมถึงต้องใส่เลขที่ออกเกียรติบัตรด้วยมั้ย
ผมตอบว่า ที่จริงจะลงนามแบบที่ถามก็ได้ แต่โดยปกติเกียรติบัตรจะลงนามโดยผู้บริหารคือ ผอ.กศน.อำเภอ กับนายทะเบียนเกียรติบัตร ( ผูดูแลทะเบียน ออกเลขเกียรติบัตร )
ถ้าเป็นโครงการร่วมหลายองค์กร อาจลงนามโดยผู้บริหารหลายองค์กร ส่วนนายทะเบียนเกียติบัตร ปกติทะเบียนและนายทะเบียนจะอยู่ที่ กศน.อำเภอ เพราะปัจจุบัน กศน.ตำบลยังไม่เป็นหน่วยงาน/สถานศึกษาเอกเทศ
สำหรับการออกเลขที่เกียรติบัตรนั้น เอกสารหลักฐานของทางราชการที่ถูกแล้ว ให้มีเลขที่ไว้ เพื่อเป็นทะเบียนให้สามารถตรวจสอบในภายหลังได้
.
2. วันอาทิตย์ที่ 11 พ.ค.57 คุณ Nicky Kongkiat ครู กศน.ตำบล ที่ กศน.อำเภอหว้านใหญ่ ถามผมผ่านเฟซบุ๊ค ว่า ตำแหน่งครูอาสาสมัครฯ ที่มีการลาออก จะถูกตัดเป็นตำแหน่งนักวิชาการ ทำงานที่จังหวัดใช่ไหม แล้วใช้เวลานานเท่าไหร่ที่กรมจะระบุตำแหน่งนักวิชาการคืนให้ กศน.จังหวัด ที่ยื่นเรื่องขอ
ผมตอบว่า ไม่ได้ถูกเปลี่ยนตำแหน่งโดยอัตโนมัติ ขึ้นอยู่กับจังหวัดจะพิจารณา ( โดยปรึกษาหารือกับอำเภอ ) ว่า จะคงตำแหน่งเดิมไว้ที่เดิม หรือจะเปลี่ยนเป็นตำแหน่งอะไร ไว้ที่ไหน ( ไม่จำเป็นต้องเป็นตำแหน่งนักวิชาการศึกษา แต่ถ้าอยู่ระดับอำเภอ ตำแหน่งอื่นที่จะเปลี่ยนไปได้คือตำแหน่งครู กศน.ตำบล ตำแหน่งนักวิชาการศึกษา ตำแหน่งนักจัดการงานทั่วไป และตำแหน่งบรรณารักษ์ ) ถ้าจะคงตำแหน่งเดิมคือตำแหน่งครูอาสาฯไว้ที่เดิม จังหวัดก็บรรจุคนใหม่แทนได้เลย ไม่ต้องแจ้งส่วนกลาง ( ถ้าไม่มีผู้สอบขึ้นบัญชีค้างอยู่ จังหวัดก็ดำเนินการรับสมัครใหม่ได้เลย แต่ถ้าเป็นตำแหน่งครู กศน.ตำบลลาออก และตำบลนั้นมีครู กศน.ตำบลเกิน 1 คน ต้องแจ้งส่วนกลางเพื่อย้ายอัตราว่างไปที่อื่น ) ถ้าจะเปลี่ยนเป็นตำแหน่งอื่น และหรือ นำไปไว้ที่อื่น จังหวัดต้องขออนุมัติส่วนกลางก่อน จะใช้เวลาเท่าไรนั้นไม่แน่นอน แล้วแต่ว่าจะส่งเรื่องโดยวิธีที่เร็วแค่ไหน ติดตามเรื่องแค่ไหน น่าจะประมาณ 1 เดือนมั้ง
.
3. เช้าวันที่ 28 พ.ค.57 ผมตอบคำถามคุณ Beeza Rukbumrung ครู ปวช. กศน.อ.เมืองสุราษฎร์ธานี ที่ถามผมผ่านเฟซบุ๊ค ว่า ในการต่อสัญญาจ้าง (ครูพิการ ครูปวช ครูเร่ร่อน) รอบใหม่นี้มีการเก็บเงินค้ำประกันสัญญา 5 เปอร์เซ็นด้วยหรอ ปกติที่เคยต่อสัญญาไม่เคยเก็บ พอเงินเดือน 15,000 บาทเก็บเงินค้ำ 3,750 บาท
ผมตอบว่า ที่ผ่านมาอาจทำไม่ถูกต้อง ที่ถูกต้องคือการจ้างตามระเบียบพัสดุที่มีการทำสัญญาจ้าง ต้องมีหลักประกันการปฏิบัติตามสัญญา 5 % ( ตามระเบียบพัสดุ กำหนดให้ใช้หลักทรัพย์เป็น "หลักประกันการปฏิบัติตามสัญญา" ไม่มีระเบียบให้ใช้บุคคลเป็นหลักประกัน )
ผมเคยถาม กจ.กศน.ว่า การจ้างครูผู้สอนคนพิการ ครู ปวช. ครูสอนเด็กเร่ร่อน ครูสอนภาษาต่างประเทศ เป็นการจ้างเหมาบริการบุคคลภายนอกตามระเบียบพัสดุด้วยหรือไม่ นิติกร กจ.ตอบว่าใช่
ถ้าจ้างพนักงานราชการจึงจะเป็นการจ้างบุคลากรของส่วนราชการ ไม่ใช่จ้างเหมาบริการบุคคลภายนอกตามระเบียบพัสดุ
( สัญญาจ้างพนักงานราชการไม่ต้องติดอากรแสตมป์ ไม่ต้องมีการค้ำประกัน, สัญญาจ้างตามระเบียบพัสดุต้องติดอากรแสตมป์และต้องใช้หลักทรัพย์เป็นหลักประกันตามสัญญา
.
4. คืนวันที่ 29 พ.ค.57 ผมตอบที่คุณ คนเลี้ยงหมู สุกรไทย เขียนในเฟซบุ๊คกลุ่มนอกระบบว่า “ครู กศน.ทำงานหนักกว่าในระบบ แต่ในระบบเขาใช้ ว 12 ทำงานครบสามปี บรรจุ แย่งคนเก่งเราจะหมดแล้ว ให้ผู้ใหญ่ช่วยดูบ้าง”
ผมตอบว่า ที่ว่า "ใช้ ว 12 ทำงานครบสามปี บรรจุ" นั้น ไม่จริง ว 12 เช่น สอบบรรจุโดยรับสมัครเฉพาะคนที่ทำงานในสังกัดครบ 3 ปี คนนอกสังกัด กพฐ. ไม่มีสิทธิ์ไปสมัคร ( ทำงานในสังกัด กพฐ.ครบ 3 ปี มีสิทธิสมัครสอบ ว 12 ไม่ใช่ครบ 3 ปีบรรจุเลย )
กศน.เราก็ใช้แต่ ว.12 มาหลายปีแล้ว ครูผู้ช่วย กศน.ไม่รับคนนอกมานานแล้ว ในขณะที่ กพฐ.มีทั้งรับทั่วไปและรับตาม ว12
คุณ ณัฐ อุด ถามต่อว่า “ว 12 คือไร ไม่เข้าใจจริงๆ”
ผมตอบว่า ว12 หมายถึง หนังสือเวียนฉบับที่ 12 ( หนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ. ที่ ศธ 0206.6/ว12 ลงวันที่ 18 ก.ค.56 ) เรื่อง “หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเข้ารับราชการเป็น ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตำแหน่งครูผู้ช่วยกรณีที่มีความจำเป็น หรือมีเหตุพิเศษ”
การสอบบรรจุตาม ว12 จะขึ้นบัญชีได้ไม่เกิน 1 ปี
ใน ว12 จะบอกหลักเกณฑ์และวิธีการสอบ รวมทั้งหลักสูตรการสอบภาค ก. ข. ค. ไว้ด้วย
ดู ว12 ได้ที่ https://dl.dropboxusercontent.com/.../PDF/v12-2556.pdf
( กรณีที่มีความจำเป็นหรือมีเหตุพิเศษ จะมีอยู่ 7 กรณี ตามข้อ 2.1-2.7 ที่ กศน.ใช้คือ 2.6 )
.
5. วันเสาร์ที่ 31 พ.ค.57 ผมตอบคำถามคุณ ยุทธนา ถาวร ครู กศน.ตำบล กศน.อ.บ้านม่วง ที่ถามในหน้าเฟซบุ๊คผม ว่า การย้ายสถานศึกษา ในกรณีที่ในระบบเขาส่งเด็กมาในช่วงกลางภาคเรียน หรือช่วงลงทะเบียนเรียนเสร็จแล้ว เราสามารถรับเด็กคนนั้นมาลงทะเบียนในภาคเรียนนั้นได้เลยไหม หรือต้องรอเปิดภาคเรียนใหม่ก่อน
ผมตอบว่า กรณีที่โรงเรียนในระบบส่งเด็กมาเรียน กศน.ในช่วงกลางภาคเรียนหรือช่วงหลังหมดเวลาลงทะเบียนเรียน เรารับขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษา ( ได้รหัสประจำตัวนักศึกษา ) ได้เลย ( รวมทั้งสถานศึกษาอาจกำหนดให้เทียบโอนกลางภาคเรียนได้ ) แต่ ให้ลงทะเบียนเรียนวิชาต่าง ๆ เมื่อเปิดภาคเรียนใหม่
.
6. วันเดียวกัน ( วันเสาร์ที่ 31 พ.ค.57 ) ผมตอบคำถามคุณ Yothin Sommanonont ที่ถามผ่านแฟนเพจเฟซบุ๊คผม ว่า มีหลักสูตร ลูกเลือ กศน. 1 สค.03029 ไหม
ผมตอบว่า คำว่า "หลักสูตรรายวิชา" จะหมายถึง "คำอธิบายรายวิชา กับ รายละเอียดคำอธิบายรายวิชา" นะ ( ส่วนพวกหนังสือแบบเรียน เป็นส่วนเสริม ) ดูวิธีค้นหาหลักสูตร ( ค้นหาคำอธิบายรายวิชา กับ รายละเอียดคำอธิบายรายวิชา ) ทุกวิชา ได้ในข้อ 6 ที่http://nfeph.blogspot.com/2013/11/asean.html
.
7. วันเดียวกัน ( วันเสาร์ที่ 31 พ.ค.57 ) ผมตอบคำถามคุณ Thaniwapon Komanee ที่ถามในหน้าเฟซบุ๊คผม ว่า การจัดตั้งกองลูกเสือของ กศน.จัดตั้งได้เฉพาะลูกเสือวิสามัญรึเปล่า (นร.ม.ปลาย) แล้ว ม.ต้นจะจัดตั้งกองลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่เหมือนโรงเรียนในระบบได้หรือไม่ (สำหรับนักศึกษา ม.ต้น ) แล้วจะต้องลงเป็นวิชาเลือกหรือเป็นกิจกรรม
ผมตอบว่า
1) กองลูกเสือ กศน. เป็นกองลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ และ/หรือ ลูกเสือวิสามัญ
การขอจัดตั้งกองลูกเสือ ต้องตั้งอย่างน้อย 1 กอง
- กองลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ 1 กอง มีจำนวนลูกเสือ 8 – 48 คน มีอายุ 14 – 18 ปี หรือ กำลังเรียนอยู่ในชั้นมัธยมศึกษา
- กองลูกเสือวิสามัญ 1 กอง มีจำนวนลูกเสืออย่างน้อย 10 คน ไม่เกิน 40 คน อายุระหว่าง 16 – 25 ปี หรือกำลังเรียนอยู่ในชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
2) การจะขอจัดตั้งกองลูกเสือได้ ต้องมีผู้กำกับลูกเสือประเภทนั้นอย่างน้อย 1 คน เป็นคนจากหน่วยงาน/สถานศึกษาอื่นก็ได้
3) ผู้กำกับกองลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ มีอายุไม่น้อยกว่า 23 ปี และต้องได้รับเครื่องหมายวูดแบดจ์ประเภทลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ (S.S.W.B.), ส่วนผู้กำกับกองลูกเสือวิสามัญมีอายุไม่น้อยกว่า 25 ปี และต้องได้รับเครื่องหมายวูดแบดจ์ประเภทลูกเสือวิสามัญ (R.W.B.)
4) ลงเป็นวิชาเลือกหรือเป็นกิจกรรมก็ได้
( ดูข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ในข้อ 4 ที่ http://www.gotoknow.org/posts/519440 )