สิทธิประโยชน์ที่จะได้รับในกรณีที่เป็นสมาชิกของ กบข.
รู้จักกับ กบข. ขอบคุณข้อมูล https://moneyhub.in.th/article/retired-government-official/
กบข. ย่อมาจาก กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ โดย กบข. มีตำแหน่งเป็นนิติบุคคลที่ได้รับการจัดตั้งขึ้น ตามกฎหมายเฉพาะ นั่นก็คือการเกิดขึ้นของพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการในปี 2539 สำหรับ การจัดตั้ง กบข. นี้มีขึ้นก็เพื่อให้เป็นการส่งเสริมการออมทรัพย์สำหรับข้าราชการ นอกจากนี้ยังสามารถใช้เป็นหลักประกันเพื่อจ่ายเงินให้กับข้าราชการ กรณีที่ข้าราชการเกษียณหรือมีการรับบำเหน็จบำนาญนั่นเอง คุณประโยชน์และวัตถุประสงค์อีกอย่างหนึ่งของ กบข. คือ การจัดสรรสวัสดิการและประโยชน์ต่าง ๆ เพื่อสมาชิกของ กบข.โดยเฉพาะ
สิทธิประโยชน์ที่จะได้รับหากเกษียณในกรณีที่เป็นสมาชิกของ กบข. และเลือกที่จะรับบำเหน็จ คือ
1.เงินก้อนจาก กบช.
เงินก้อนจาก กบข. มีที่มาโดยเงินจำนวนนี้จะมาจากเงินสะสม เงินสมทบและเงินที่ได้จากผลประโยชน์ตอบแทน ทั้งนี้เงินจำนวนที่ได้รับจัดว่าเป็นเงินก้อนแรกที่ กบข. ได้มอบให้กับข้าราชการเกษียณ โดยสามารถดูว่ายอดเงินก้อนที่ได้รับนั้นได้จากใบแจ้งยอดของ กบข. ที่จะมีมาทุกสิ้นปี โดยใบแจ้งยอดจะมาพร้อมกับหลักฐานในการลดหย่อนภาษีอีกด้วย
2.ได้เงินบำเหน็จ
หากผู้เกษียณเป็นสมาชิกของ กบข.และเลือกจะรับเงินบำเหน็จ สามารถนำเงินเดือนเฉลี่ยที่มีอยู่ในช่วง 60 เดือนสุดท้ายก่อนหมดอายุราชการ
ยกตัวอย่าง เช่น หากเงินเดือนสุดท้ายในช่วง 60 เดือน อยู่ที่ 75,000 บาท และผู้เกษียณนั้นมี อายุราชการ 25 ปี เงินบำเหน็จที่ผู้เกษียณจะได้รับ คือ 75,000 คูณกับ 25 ได้เงินก้อนทั้งสิ้น 1,875,000
ผู้ที่เป็นสมาชิก กบข. และต้องการรับเงินบำนาญรายเดือน
ผู้ที่ต้องการรับเงินบำนาญรายเดือน ส่วนใหญ่แล้วเกิดจากความประสงค์ที่จะให้รัฐบาลช่วยเหลือในด้านสวัสดิการต่าง ๆ โดยประโยชน์ที่สมาชิก กบข. ซึ่งเกษียณอายุและรับเงินบำนาญจะได้รับมีดังต่อไปนี้
1.เงินก้อนจาก กบข.
ภายในเงินก้อนจาก กบข. จะมีเงินชดเชย เงินประเดิม เงินสะสมและเงินสมทบ รวมไปถึงเงินจากผลประโยชน์ตอบแทน โดยเงินที่ได้รับในงวดแรกนี้ คือ เงินที่กบข. ได้จัดไว้ให้ ทั้งนี้ผู้เกษียณและเลือกรับเงินบำนาญสามารถตรวจสอบว่ายอดเงินที่ตนได้รับมีเท่าใดจากใบแจ้งยอดที่ทาง กบข. ส่งมาให้ นอกจากนี้ผู้เกษียณยังสามารถดูยอดเงินได้ทุกสิ้นปี ซึ่งใบแจ้งยอดจะส่งมาพร้อมกับหลักฐานเอกสารเพื่อใช้ในการลดหย่อนภาษีนั่นเอง
2.เงินบำนาญสำหรับรายเดือน
เงินบำนาญรายเดือน สามารถหาได้จากการที่ผู้เกษียณนำเงินเดือนเฉลี่ยที่มีอยู่ในช่วงเวลา 60 เดือนสุดท้าย ก่อนหมดอายุราชการ จากนั้นให้นำเงินเดือนที่คูณกับอายุราชการ แล้วนำไปหาร 50 แต่ทั้งนี้เงินบำนาญที่ได้รับจะต้อง มีจำนวนไม่เกิน 70 เปอร์เซ็นของเงินเดือน และอายุราชการจะต้องไม่เกิน 35 ปี
ยกตัวอย่างเช่น
หากได้รับเงินเดือนก่อนเกษียณอายุราชการ 60 เดือน เป็นเงิน 75,000 บาทและมีอายุราชการ 25 ปี ผู้เกษียณจะได้เงินจากการบำนาญเท่ากับ 37,5000 บาท โดยจะเห็นได้ว่าเงินที่ได้รับนั้นไม่ถึง 70 เปอร์เซ็นของเงินเดือนที่เคยได้ (70 เปอร์เซ็นของ 75,000 คือ 52,500)
สิทธิประโยชน์ด้านอื่นของผู้ที่เป็นสมาชิก กบข.
ผู้ที่เป็นสมาชิก กบข. จะได้รับเงินด้านต่าง ๆ ดังที่กล่าวไปข้างต้น รวมไปถึงได้รับเงินฌาปนกิจสงเคราะห์ เงินประกันชีวิตและเงินช่วยเหลือจากสหกรณ์
สำหรับผู้ที่ไม่ได้เป็นสมาชิก กบข. จะได้รับสิทธิประโยชน์ ดังนี้
1.กรณีเลือกเงินบำเหน็จ
ให้ผู้เกษียณนำเงินเดือนเดือนที่ได้รับครั้งสุดท้ายก่อนหมดอายุราชการ ไปคูณด้วยอายุราชการที่ตนเองทำมาทั้งหมด ยกตัวอย่างเช่น หากเงินเดือน เดือนสุดท้ายที่ได้รับอยู่ที่ 75000 บาท และมีอายุราชการ 25 ปี เงินบำเหน็จที่จะได้รับ คือ1,875,000 บาท ซึ่งเงินจำนวนนี้เป็นเงินที่ผู้เกษียณสามารถรับไปได้ทันที
2.กรณีเลือกเงินบำนาญ
สำหรับผู้เกษียณที่ไม่ชอบการรับเงินก้อน แต่เลือกเป็นเงินบำนาญแทนนั้น ให้ผู้เกษียณนำเงินเดือนที่ตนเองได้รับเดือนสุดท้ายมาคูณกับอายุราชการของตนเอง แล้วหารด้วย 50 ยกตัวอย่างเช่น หากเงินเดือนเดือนสุดท้ายที่ผู้เกษียณได้รับ มีจำนวน 75,000 และมีอายุราชการ 25 ปี จะได้รับเงินบำนาญเดือนละ 37,500บาท
สิทธิประโยชน์ด้านอื่นของผู้ไม่ใช่สมาชิก กบข.
1.ผู้เกษียณจะได้รับเงินค่ารักษาให้กับตนเอง พร้อมภรรยาหรือสามี พ่อแม่ รวมไปถึงลูกที่อายุไม่ถึง 20 ปีบริบูรณ์
2.ผู้เกษียณจะได้รับเงินค่าการศึกษาของลูกที่เบิกได้จนถึงอายุ 25 ปีบริบูรณ์
3.ผู้เกษียณจะได้รับเงินค่าบำเหน็จดำรงชีพมีค่าเท่ากับ เงินบำนาญคูณ 15 เท่า