1.ใน 1 กลุ่มมี นศ. 2 ระดับชั้นได้ไหม, 2.ข้าราชการครูไม่มี นศ.เป็นของตนเองได้ไหม, 3.ใครจะลงคำรับรองฯถ้าข้าราชการครูเป็นครูประจำกลุ่ม นศ.ของ กศน.ตำบล
1.ใน 1 กลุ่มมี นศ. 2 ระดับชั้นได้ไหม 2.ข้าราชการ ครูไม่มี นศ.เป็นของตนเองได้ไหม 3.ใครจะลงคำรับรองฯถ้าข้าราชการครูเป็นครูประจำกลุ่ม นศ.ของ กศน.ตำบล 1. เรื่องใน 1 กลุ่ม ควรมี นศ.ระดับชั้นเดียว เช่น ม.ต้นทั้งหมด หรือ ม.ปลายทั้งกลุ่ม นี้ เป็นเรื่องปกติธรรมดาของการจัดการเรียนการสอนทุกหลักสูตร เพราะแต่ละระดับมีเนื้อหาวิชาต่างกัน ยากที่จะจะจัดการเรียนการสอนรวมกันให้มีคุณภาพ แต่ประเด็นนี้ก็เป็นปัญหา/ข้อจำกัดสำหรับครู กศน.มาตลอด จนถึงปัจจุบัน เท่าที่ฟังท่านเลขาธิการ กศน.ให้นโยบาย ท่านเน้นที่ “1 กลุ่มไม่ให้เกิน 40 คน และ จัดการเรียนการสอน/จัดกิจกรรมการเรียนรู้ ครั้งละกลุ่มเดียว” ในแต่ละกลุ่ม เราก็ต้องพยายามแยกให้มี นศ.เพียงระดับเดียว แต่ ในทางปฏิบัติอาจมีบางกลุ่มจำเป็นต้องมี 2 ระดับ ก็อนุโลมได้ เพราะปัญหา/ข้อจำกัดสำหรับครู กศน.ยังมีอยู่ เช่น ถ้าตำบลใดมีครูคนเดียว มี นศ.ระดับประถม 42 คน ม.ต้น 43 คน ม.ปลาย 44 คน กรณีนี้ถ้าจะแบ่งกลุ่มให้ถูกทั้งนโยบายและหลักการ ครูคนนี้ต้องแบ่งถึง 6 กลุ่ม และตามนโยบายแม้ว่ากลุ่มจะมี นศ.น้อยคน ก็ต้องแยกสอนไม่พร้อมกัน ( จะให้ นศ.บางคนไปอยู่กลุ่มตำบลอื่น เดินทางไปเรียนที่ตำบลอื่น ก็จะเป็นปัญหาอื่นอีก )โดยต้อง “จัดตั้งกลุ่ม” ก่อน ระบุว่าแต่ละกลุ่มอยู่ที่ไหน สอนวันเวลาใด ซึ่งวันเวลาต้องไม่ซ้ำซ้อนกันในครูประจำกลุ่มคนเดียวกัน ดังนั้นครูคนนี้เฉพาะการสอนอย่างเดียวก็สัปดาห์ละ 6 X 6 ชั่วโมง ( ปัจจุบันไม่พูดว่าให้สอนสัปดาห์ละ 9 ชั่วโมงแล้ว ) รวมเป็น 36 ชั่วโมง จะยากในทางปฏิบัติ ก็คงต้องอนุโลมให้ลดกลุ่มโดยบางกลุ่มมี นศ. 2 ระดับชั้นรวมกันได้ 2. เรื่องข้าราชการครูต้องมีภาระงานสอน เป็นเรื่องบังคับตามกฎหมายของ “ผู้ดำรงตำแหน่งครู” ทุกสังกัด โดยเฉพาะกับทุกคนที่จะมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู และ/หรือ มีวิทยฐานะ( ผู้ดำรงตำแหน่งครู จะปฏิบัติงานที่หน่วยงานทางการศึกษาที่ไม่ใช่สถานศึกษา เช่น สนง.กศน.จังหวัด ไม่ได้ เพราะ สนง.กศน.จังหวัดจะไม่มีการจัดการเรียนการสอนเอง ทำให้ผู้ดำรงตำแหน่งครูปฏิบัติหน้าที่ตามที่ระเบียบกฎหมายกำหนดไม่ได้ ที่ไหนยังให้ผู้ดำรงตำแหน่งครูไปช่วยราชการประจำที่ สนง.กศน.จังหวัด ถือว่าไม่สนใจระเบียบกฎหมาย ) แต่ภาระงานสอนตามระเบียบกฎหมายของข้าราชการครู มีหลายอย่าง ไม่จำเป็นต้องหานักศึกษาเป็นของตนเอง เช่นสอนเสริมให้กับ นศ.ของ กศน.ตำบลก็ได้ต้องพิจารณาจากหลายด้าน เช่น 1) ถ้าข้าราชการครูไม่หานักศึกษาเป็นของตนเอง ก็ไม่ได้ช่วยแบ่งเบากลุ่มเป้าหมายรวมของอำเภอ ไม่ได้ช่วยลดกลุ่มเป้าหมายของครูประเภทอื่น อาจทำให้ครูประเภทอื่นเกิดความรู้สึก ( แต่บางครั้งก็ดี ที่ไม่ต้องแย่ง นศ.กัน ) 2) ถ้าข้าราชการครูไม่ช่วยหานักศึกษาเป็นของตนเองและส่งผลให้รวมทั้งอำเภอไม่ได้ นศ.ตามเป้า ผอ.กศน.อำเภอก็ต้องรับผิดชอบ 3) ถ้าข้าราชการครูไม่ช่วยหานักศึกษาเป็นของตนเอง แต่ทั้งอำเภอได้ นศ.ครบตามเป้าแล้วข้าราชการครูไม่สอน ความรับผิดชอบจะไปอยู่ที่ตัวข้าราชการครู คือ ถ้าอ้างว่า มีภาระงานสอน เช่น ทำตารางนิเทศ/ตารางสอนเสริม/อื่น ๆ ครบสัปดาห์ละ 10 ชั่วโมง และมีภาระงานสอนอื่นรวมครบสัปดาห์ละ 18 ชั่วโมงแล้ว ถ้าไม่จริง ก็อาจส่งผลต่อการต่ออายุใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ส่งผลต่อวิทยฐานะ สรุป ข้าราชการครูจะต้องหานักศึกษาเป็นของตนเองหรือไม่ เป็นความรับผิดชอบของทั้งตัวข้าราชการครูและผู้บริหาร โดยผู้บริหารเป็นผู้ตัดสิน ถ้าผู้บริหารตัดสินตามระเบียบและนโยบาย แล้วข้าราชการครูไม่ปฏิบัติตามก็ถือว่าข้าราชการครูขัดนโยบาย 3. ถ้าครู กศน.ตำบล หรือครู ศรช. เป็นผู้รับสมัครนักศึกษา ได้ระดับประถม 30 คน ม.ต้น 30 คน ม.ปลาย 30 คน รวม 90 คน จัดตั้งกลุ่มเป็น 3 กลุ่ม ให้ครู กศน.ตำบลหรือครู ศรช. เป็นครูประจำกลุ่ม 2 กลุ่ม และให้ข้าราชการครูเป็นครูประจำกลุ่ม 1 กลุ่ม ข้าราชการครูไม่ได้รับสมัคร นศ.เอง กรณีนี้จะถือว่า นศ. 90 คนนี้ เป็นผลงานของใคร จะลงเป้า/ผลในคำรับรองของใครเท่าไร - ครู กศน.ตำบลลง เป้า/ผล ในคำรับรองฯของตน ทั้ง 90 คน โดยข้าราชการครูไม่ต้องลงในคำรับรองฯ หรือ - ครู กศน.ตำบลลง เป้า/ผล ในคำรับรองฯของตน 60 คน และข้าราชการครูลงในคำรับรองของตน 30 คน หรือ - ครู กศน.ตำบลลงเป้า/ผล ในคำรับรองฯของตน 90 คน และข้าราชการครูลงในคำรับรับรองฯของตนอีก 30 คน จะซ้ำซ้อนเป็น 120 คนหรือไม่ กรณีนี้ผมไม่แน่ใจว่าระบบโปรแกรมฐานข้อมูลการบริหารจัดการฯ ถ้าลงคำรับรองฯตามวิธีที่ 3 แล้ว โปรแกรมจะรวมเป็นยอดของอำเภอ 120 คนโดยอัตโนมัติหรือไม่ ถ้าโปรแกรมไม่รวมกันให้ซ้ำซ้อน ก็ควรลงตามวิธีที่ 3 แต่ถ้าโปรแกรมรวมกันให้ซ้ำซ้อน ก็ควรลงตามวิธีที่ 1 หรือ 2 ขอบคุณบทความจาก อ.เอกชัย ยุติศรี |