วิธีการเทียบโอน

ตัวอย่าง .. การเทียบโอนผลการเรียน  แยกตามกลุ่มสาระการเรียนรู้
ตัวอย่าง .. การเทียบโอนผลการเรียน  ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
ตัวอย่าง .. การเทียบโอนผลการเรียน  ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

วิธีเทียบโอนผลการเรียนหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช 2551 มีหลักเกณฑ์การเทียบโอนผลการเรียน ดังนี้ 
หมวด 1 หลักการการเทียบโอนผลการเรียน 
(1) สถานศึกษาจัดให้มีการเทียบโอนผลการเรียนในทุกภาคเรียน 
(2) แต่งตั้งคณะกรรมการเทียบโอนผลการเรียน 
(3) ให้มีการเทียบโอนผลการเรียนเป็นนรายวิชา ตามสาระและมาตรฐานการเรียนรู้
(4) การเทียบโอนผลการเรียนหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551  เปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถเทียบโอนผลการเรียนได้
(5) การเทียบโอนผลการเรียนสามารถเทียบโอนผลการเรียนที่ผู้เรียนสะสมไว้ทั้งจากการศึกษาในระบบ, การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย การฝึกอาชีพหรือประสบการณ์การทำงาน เพื่อส่งเสริมให้เกิดการศึกษาตลอดชีวิต 
(6) มีวิธีการและหลักเกณฑ์การเทียบโอนผลการเรียนที่ได้มาตรฐานชัดเจนโปร่งใสและยุติธรรม
(7) ให้ใช้แนวทางการเทียบโอนตามเอกสารแนบท้ายระเบียบนี้
หมวด 2  วิธีการเทียบโอนผลการเรียน 
(1) การพิจารณาจากหลักฐานการศึกษา 
  1.1 การพิจารณาหลักฐานการศึกษาจากหลักสูตรที่จัดการศึกษาเป็นระดับเป็นการตรวจสอบหลักฐานผลการเรียนในรายละเอียดเกี่ยวกับระดับหรือชั้นปีที่เรียนจบมา รายวิชาที่เรียนผลการเรียน ความถูกต้องของหลักฐาน โดยหลักฐานการศึกษาที่นำมาเทียบโอนผลการเรียนต้องเป็นหลักฐานที่ออกโดยสถานศึกษาของรัฐหรือเอกชนที่ได้รับการรับรองหรือมีวิทยฐานะ
  1.2 การพิจารณาหลักฐานจากการศึกษาต่อเนื่องเป็นการตรวจสอบรายละเอียดเกี่ยวกับหลักสูตรเนื้อหาวิชาที่ศึกษา จํานวนชั่วโมง หน่วยงานที่จัดเพื่อพิจารณาเทียบโอนให้สอดคล้องกับรายวิชาตามหลักสูตรซึ่งต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการเทียบโอนผลการเรียนของสถานศึกษา  
(2) การประเมินความรู้และประสบการณ์เป็นการวัดตรวจสอบ และประเมินผลการเรียนรู้ และประสบการณ์ของผู้เรียนที่เกิดจากการประกอบอาชีพ การทํางานจากการเรียนรู้ตามอัธยาศัยโดยใช้เครื่องมือประเมินที่หลากหลาย เช่น แบบทดสอบ แบบสัมภาษณ์ การปฏิบัติจริง เป็นต้น
หมวด 3  หลักเกณฑ์การเทียบโอนผลการเรียน 
(1) ให้คณะกรรมการเทียบโอนผลการเรียน ศึกษา วิเคราะห์หลักสูตรที่ผู้เรียนนําหลักฐานการศึกษามาเทียบโอนผลการเรียนแล้วจัดทําตารางวิเคราะห์หลักสูตรเพื่อใช้ในการเทียบโอนผลการเรียน
(2) การพิจารณาเทียบโอนให้พิจารณาจาก
  2.1 ระยะเวลาและระดับชั้นที่ผู้ขอเทียบโอนเรียนผ่านมา
  2.2 รายวิชา/หมวดวิชา ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง ตัวชี้วัดของรายวิชา หรือคําอธิบายรายวิชา ระหว่างรายวิชาที่นํามาเทียบโอนกับรายวิชาที่รับเทียบโอนต้องมีความสอดคล้องกันไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 
  2.3 จํานวนหน่วยกิตของรายวิชา/หมวดวิชาที่นํามาเทียบโอนต้องไม่น้อยจํานวนหน่วยกิตในรายวิชาที่รับเทียบโอนผลการเรียน หากรายวิชาที่นํามาเทียบโอนผลการเรียน อาจนำรายวิชาอื่นที่อยู่ในสาระและมาตรฐานเดียวกันมานับรวมให้ได้จำนวนหน่วยกิตเท่ากันหรือมากกว่าจํานวนหน่วยกิตในรายวิชาที่รับเทียบโอนผลการเรียน
  2.4 ไม่รับเทียบโอนรายวิชา/หมวดวิชาที่มีค่าระดับผลการเรียนเป็น 0 , ร , มส. 
(3) ให้เทียบโอนผลการเรียนได้ทั้งรายวิชาบังคับและรายวิชาเลือก  โดยนับรวมกันแล้วต้องไม่เกินจํานวนหน่วยกิตที่กำหนดในแต่ละระดับการศึกษา คือ
      ระดับประถมศึกษา  เทียบโอนได้ไม่เกิน  36  หน่วยกิต   
      ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น  เทียบโอนได้ไม่เกิน  42  หน่วยกิต   
      ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย  เทียบโอนได้ไม่เกิน  57  หน่วยกิต  
(4)  การให้ค่าระดับผลการเรียนจากการเทียบโอน 
     4.1  ผลการเรียนเป็นรายวิชาให้ใช้ค่าระดับผลการเรียนตามที่ปรากฏในหลักฐานการศึกษาที่นํามาเทียบโอน ถ้าผลการเรียนในหลักสูตรเดิมมากกว่า 1 รายวิชานํามาเทียบโอนกับหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ได้ 1 รายวิชา ให้นำค่าระดับผลการเรียนของรายวิชาที่ขอเทียบโอนมาเฉลี่ย  หากมีจุดทศนิยมตามหลักการทางคณิตศาสตร์เพื่อบันทึกผลการเรียนต่อไป
     4.2  ผลการเรียนเป็นหมวดวิชาให้ใช้ค่าระดับผลการเรียนของหมวดวิชาเป็นค่าระดับผลการเรียนในรายวิชาที่เทียบโอนได้
(5)  หัวหน้าสถานศึกษาพิจารณาอนุมัติผลการเทียบโอน    
      ขอบคุณแหล่งที่มา : เอกสารทางวิชาการลำดับที่ 32/2553  สำนักงาน กศน.   (Download คลิกที่นี่)

ขอบคุณเว็บไซด์ครูนอกระบบของครูอาคม จันทนี

Popular Posts

จำนวนผู้เข้าอ่านข่าว